เมนู

อรรถกถานิคคหะที่ 4


นัยที่ 2 คำว่า ในกาลทั้งปวง เป็นคำซักถามของสกวาที
หมายถึงกาลคือชาติที่มีมาก่อนและมีในภายหลัง และกาลที่พระพุทธเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่และปรินิพพานแล้ว. การปฏิเสธเป็นของปรวาที
เพราะเห็นข้อบกพร่องแห่งคำว่า เป็นกษัตริย์ก็คนนั้นแหละ เป็น
พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ
เป็นต้น และเห็นโทษคือความพลั้งพลาด
เพราะไม่มีอะไรแปลกกันของกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือ
ปรินิพพานแล้ว. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนัยแรก
นั่นเทียว.
อรรถกถานิคคหะที่ 4 จบ

นิคคหะที่ 5


[13] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในสภาวะธรรมทั้งปวงโดยสัจฉิ
กัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวใน
ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม
ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่าข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่
กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว
ในปัญหานั้นว่าพึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม
ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ 5 จบ